โคลงสุภาษิต

โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

dzzryo-1

ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๕) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ (พระปิยมหาราช)

ลักษณะคำประพันธ์ โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสีสุภาพ ๑๘ ่บท โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ เป็นโคลงสีสุภาพ ๑๒ บท ่ โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำา เป็นร้อยแก้ว และสรุปด้วยโคลงสี่สุภาพ(เป็นสุภาษิต)มีทั้งหมด ๔ เรื่อง คือ ราชสีห์กับหนู , บิดากับบุตรทั้งหลาย , สุนัขป่ากับลูกแกะ , กระต่ายกับเต่า

ที่มาของเรื่อง โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เดิมเป็นสุภาษิตภาษาอังกฤษจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีในพระราชสำานักแปลและประพันธ์เป็นโคลงภาษาไทย พระองค์ท่านได้ทรงตรวจแก้และทรงพระราชนิพนธ์โคลงบทนำาด้วย)โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ เป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ เช่นกัน (โดยทรงแปลมาจากโคลงเดิมที่เป็นภาษาอังกฤษ) โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำา เป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ เช่นกัน โดยทรงแปลมาจากนิทานกรีกฉบับภาษาอังกฤษ เพราะสมัยนั้นคนไทยนิยมอ่านเรื่องที่แปลมาจากวรรณคดีตะวันตกกันมาก โดยเฉพาะนิทานอีสป เพราะไม่ผูกติดกับขนบธรรมเนียมประเพณี และค่านิยมของชาติใดชาติหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลนิทานอีสปไว้ทั้งหมด ๒๔ เรื่อง และทรงพระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิตประกอบนิทานร่วมกับกวีอีก ๓ ท่าน คือ กรมหลวงพิชิตปรีชากร พระยาศรีสุนทรโวหาร และ พระยาราชสัมภารากร ซึ่งรวมเรียกว่า “โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำา”

จุดประสงค์ในการแต่ง โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ และ โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ มีจุดประสงค์ในการแต่งเพื่อต้องการจะอธิบายสุภาษิตที่เกี่ยวกับนามธรรมซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกี่ยวข้องกับคนทุกคน ทุกฐานะ ทุกอาชีพ ได้นำาไปเป็นเครื่องโน้มนำาให้ประพฤติชอบอย่างผู้มีสติและมีความปลอดโปร่งในชีวิต โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำา มีจุดประสงค์ในการแต่งเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้อ่านให้พิจารณาคำาสอนที่ได้จากนิทานเรื่องนั้นๆ

Leave a comment